การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient) PM2.5 / PM10 / TSP

เก็บตัวอย่างปริมาณฝุ่นละอองตั้งแต่ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP ,PM10 ,PM2.5) รวมทั้งก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจน (NO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และกลุ่มของ VOCs รวมไปถึงการตรวจวัดความเร็วลม และทิศทางลม (Wind Speed and Wind Direct) โดยเป็นไปตามวิธีการตรวจวัดตามมาตรฐานของ US.EPA Method

การตรวจวัดระดับเสียง 8 ชั่วโมง แบบตั้งพื้นที่ (Noise Dose)

วัดระดับเสียงโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Noise Dosimeter วัดค่าระดับความดังเสียงที่ได้สัมผัสตลอดระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถดูค่าเป็น % Dose และคำนวณค่ามาเป็นรูปแบบของ TWA เพื่อดูค่าความดังในรูปแบบเดซิเบลได้อีกด้วย และมีการสอบเทียบก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง

การตรวงจวัดระดับเสียง 24 ชั่วโมง + เสียงรบกวน

การตรวจวัดความดัง และเสียงรบกวน โดยใช้อุปกรณ์ Sound Level Meter ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำ เที่ยงตรง และเป็นเครื่องมือที่ได้รับมาตรฐานสากล และมีการสอบเทียบก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง

การตรวจวัดแสงสว่าง

การตรวจวัดแสงสว่าง ในบริเวณะพื้นที่ทำงานด้วยอุปกรณ์ Lux meter เพื่อเปรียบเทียบความสว่างกับลักษณะ และชนิดของงานเพื่อดูความเข้มของแสงสว่าง และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่ปฏิบัติงานในจุดนั้นๆ

การตรวจวัดระดับความร้อน (Heat Stress)

(Wet Bulb Globe Thermometer : WBGT) ของยี่ห้อ Quest และ Meteosonic ซึ่งเป็นระบบดิจิตอล

การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง

การเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม

การตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องระบาย

ทำการเก็บตัวอย่างปริมาณฝุ่นละอองในปล่องระบาย ด้วยเทคนิค Isokinetic Sampling และเป็นไปตามมาตรฐานของ US.EPA Method หรือวิธีการตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ

การตรวจวัดความเข้มข้นสารเคมีอันตรายในบรรยากาศการทำงาน